วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

กลุ่มสมุนไพรแก้มะเร็ง ทองพันชั่ง

กลุ่มสมุนไพรแก้มะเร็ง
ทองพันชั่ง
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Rhinacanthus nasutus  (L.) Kurz
ชื่อพ้อง : R. communis  Nees
ชื่อสามัญ :    White crane flower
วงศ์ :   ACANTHACEAE
ชื่ออื่น  ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ส่วนโคนต้นเนื้อไม้เป็นแกนแข็ง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปไข่ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดประสีม่วงแดง ผล เป็นฝักเล็ก พอแห้งแตกออกได้
ส่วนที่ใช้ : 
ราก  ทั้งต้น  ต้น  ใบ
สรรพคุณ :
  • ราก - แก้กลากเกลื้อน รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง ดับพิษไข้ แก้พิษงู แก้พยาธิวงแหวนตาผิวหนัง
  • ทั้งต้น - รักษาโรคผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน รักษามะเร็ง คุดทะราด ขับพยาธิตามผิวหนัง ตามบาดแผล แก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม แก้ปัสสาวะผิดปกติ
  • ต้น - บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ รักษาโรคผมร่วง
  • ใบ - ดับพิษไข้ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน แก้โรคไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้ผมร่วง บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ แก้ปวดฝี แก้พิษงู ถอนพิษ แก้อักเสบ แก้โรคมุตกิต รักษาโรคพยาธิวงแหวนตามผิวหนัง
    นอกจากนี้ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคต่อไปนี้คือ
  • ราก - รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด กระเพาะลำไส้ มะเร็งตามร่างกาย ทำให้ผมดกดำ แก้ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร ดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง แก้กระษัย แก้ผมหงอก ผมร่วง รักษาโรคตับพิการ รักษาโรครูมาติซึม รักษาโรคไขข้อพิการ แก้ลมเข้าข้อทำให้ปวดบวมต่างๆ ขับปัสสาวะ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค
  • ทั้งต้น  - รักษาโรคผิวหนัง คุดทะราด แก้เม็ดผื่นคัน
  • ต้น - รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะ มะเร็งตามร่างกาย มะเร็งลำไส้ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง
  • ใบ - แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้ แก้ปวดหัวตัวร้อน แก้มะเร็งไช แก้หิดมะตอย รักษาโรคมะเร็ง รักษาวัณโรค แก้ใจระส่ำระสาย แก้คลุ้มคลั่ง แก้สารพัดพิษ
    นอกจากนี้ในตำราบางเล่ม ยังได้กล่าวถึงสรรพคุณทองพันชั่ง โดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใดของพืช หรือส่วนใดในตำรายาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ
    - รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคมะเร็ง แก้มุตกิตระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ผมร่วง รักษาโรคนิ่ว
    - แก้เคล็ดขัดยอกชายโครง มือเคล็ด คอเคล็ด แก้มะเร็งในกระเพาะ แก้ฝีประคำร้อย แก้มะเร็งในคอ แก้มะเร็งในปาก แก้ไข้เหนือ แก้จุกเสียด เป็นยาหยอดตา แก้ไอเป็นเลือด แก้ช้ำใน แก้นิ่ว แก้โรคผิวหนัง แก้ลมสาร แก้มะเร็งในปอด แก้มะเร็งภายในและภายนอก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ใช้รับประทานเป็นยาภายใน รักษาโรคมะเร็ง และวัณโรคระยะเริ่มแรก
    1. ใช้ทั้งต้น สด จำนวน 30 กรัม ต้มกับน้ำ จำนวนท่วมใบยา ต้มดื่มต่างน้ำ
    2. ใช้ก้านและใบสด 30 กรัม (แห้ง 10-15 กรัม) ผสมน้ำตาลกรวดต้มน้ำดื่ม รักษาโรคปอดระยะเริ่มแรก
  • ใช้เป็นยาภายนอก แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อนและผื่นคันอื่นๆ
    1. ใช้ใบสด 5-8 ใบ หรือ รากสด 2-3 ราก
    ใบสดตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน หรือเอารากมาป่น แช่เหล้าไว้ 1 สัปดาห์ กรองเอาน้ำยาที่แช่มาทา ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
    2. ใช้ใบสดตำผสมน้ำมันดิบ หรือ แอลกอฮอล์ 75% ทาบริเวณที่เป็น
สารเคมี - Rhinacathin, Oxymethylanthra quinone, Quinone, Rutin (quercetin - 3 - rutinoside)

กลุ่มยาแก้ปวดฟัน กานพลู

กลุ่มยาแก้ปวดฟัน
กานพลู
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Syzygium aromaticum (L.) Merr.& L.M.Perry
ชื่อพ้อง :  Caryophyllus aromatica  L. ; Eugenia aromatica  (L.) Baill; E.Caryophylla(Spreng.) Bullock et Harrison;  E.caryophyllata Thunb.
ชื่อสามัญ :   Clove Tree
วงศ์ :   Myrtaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ 5 ซม. ก้านช่อดอกสั้นมาก แต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม. เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือกลม ยาว 7-8 มม. มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม. ผล รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี 1 เมล็ด
          กานพลูเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ น้ำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900 เมตร

ส่วนที่ใช้ :  เปลือกต้น ใบ ดอกตูม ผล น้ำมันหอมระเหยกานพลุ
สรรพคุณ :
  • เปลือกต้น  -  แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ 
  • ใบ -  แก้ปวดมวน
  • ดอกตูม - รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่น
    ดอกกานพลูแห้ง ที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการ แก้โรคเหน็บชา แก้หืด แก้ไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา แก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียว ขับผายลม ขับลมในลำไส้ แก้ท้องเสียในเด็ก แก้ปากเหม็น แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาด กับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน
  • ผล -  ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม
  • น้ำมันหอมระเหยกานพลู - ใช้เป็นยาชาเฉพาะแห่ง แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรม เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม และปวดท้อง
    ใช้ดอกกานพลูโตเต็มที่ ที่ยังตูมอยู่ 4-6 ดอก หรือ 0.25 กรัม
    ในผู้ใหญ่  - ใช้ทุบให้ช้ำ ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว
    ในเด็ก -  ใช้ 1 ดอก ทุบแล้วใส่ลงในขวดนม
    เด็กอ่อน - ใช้ 1 ดอก ทุบใส่ในกระติกน้ำที่ไว้ชงนม ช่วยไม่ให้เด็กท้องขึ้นท้องเฟ้อได้
  • ยาแก้ปวดฟัน
    ใช้นำมันจากการกลั่นดอกตูมของดอกกานพลู 4-5 หยด ใช้สำลีพันปลายไม้ จุ่มน้ำมันจิ้มในรูฟันที่ปวด จะทำให้อาการปวดทุเลา และใช้แก้โรครำมะนาดก็ได้
    หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยว แล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟันเพื่อระงับอาการปวด หรือใช้ ดอกกานพลูตำพอแหลกผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะใช้จิ้มหรืออุดฟันที่ปวด
  • ระงับกลิ่นปาก
    ใช้ดอกตูม 2-3 ดอก อมไว้ในปาก จะช่วยทำให้ระงับกลิ่นปากลงได้บ้าง
สารเคมี : Eugenol, Cinnamic aldehyde Vanillin น้ำมันหอมระเหย Caryophylla - 3(12)-6-dien-4-ol

กลุ่มยารักษาริดสีดวงทวาร ขลู่

กลุ่มยารักษาริดสีดวงทวาร
ขลู่
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Pluchea indica  (L.) Less.
ชื่อสามัญ :  Indian Marsh Fleabane 
วงศ์ :   Asteraceae (Compositae)
ชื่ออื่น  หนวดงั่ว หนวดงิ้ว หนวดงัว หนาดวัว (อุดรธานี) ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน) คลู ขลู (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-2.5 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน รูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ สีเขียว ก้านใบสั้น ดอก ออกเป็นช่อแยกขนงตามปลายยอด ช่อย่อยเป็นช่อกระจุกแน่น ดอกสีม่วงอ่อน ดอกย่อยมี 2 แบบ ตรงกลางเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกที่เหลืออยู่รอบๆ เป็นดอกเพศเมีย กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล เป็นผลแห้งเมล็ดล่อน รูปทรงกระบอก เป็นสันเหลี่ยม 10 สัน
ส่วนที่ใช้ : 
 ทั้งต้นสด หรือแห้ง เปลือก ใบ เมล็ด ดอก (นิยมใช้เฉพาะใบ)
สรรพคุณ :
  • ทั้งต้นสด หรือแห้ง ปรุงเป็นยาต้มรับประทานขับปัสสาวะ แก้โรคนิ่วในไต แก้ปัสสาวะพิการ แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง เป็นยาช่วยย่อย แก้ริดสีดวงทวารหนัก ริดสีดวงจมูก
  • เปลือก ใบ เมล็ด  - แก้ริดสีดวงทวาร ริดสีดวงจมูก แก้กระษัย เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ใบ - มีกลิ่นหอม ต้มน้ำดื่ม แทนเป็นน้ำชา เพื่อลดน้ำหนัก แก้ปวดเมื่อย ขับระดูขาว แก้แผลอักเสบ และต้มน้ำอาบบำรุงประสาท สำหรับแก้แผลอักเสบ อาจใช้ใบสดตำพอบริเวณที่เป็น แก้ริดสีดวงทวาร ยาอายุวัฒนะ
  • ใบและราก รับประทานเป็นยาฝาดสมาน แก้บิด แก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้แผลอักเสบ ใช้รากสดตำพอกบริเวณที่เป็น
  • ดอก - แก้โรคนิ่ว
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • เป็นยาแก้อาการขัดเบา 
    ใช้ทั้งต้นขลู่ 1 กำมือ (สดหนัก 40- 50 กรัม แห้งหนัก 15- 20 กรัม ) หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
  • เป็นยาริดสีดวงทวาร ริดสีดวงจมูก 
    ใช้เปลือกต้น ต้มน้ำ เอาไอรมทวารหนัก และรับประทาน แก้โรคริดสีดวงทวาร หรือใช้เปลือกต้น (ขูดเอาขนออก) แบ่งเป็น 3 ส่วน
    ส่วนที่ 1 นำมาตากแห้ง ทำเป็นยาสูบ
    ส่วนที่ 2 นำมาต้มน้ำรับประทาน
    ส่วนที่ 3 ต้มน้ำเอาไปรมทวารหนัก
    เปลือกบางของต้นขูดขนออกให้สะอาด ทำเป็นเส้นตากแห้ง คล้ายเส้นยาสูบ แก้ริดสีดวงจมูก
  • การใช้ขลู่ในใบชาลดความอ้วน !
    การใช้ยาขับปัสสาวะในทางการแพทย์นั้น มักใช้เพื่อลดความดันโลหิต และเพื่อลดอาการบวมน้ำ อาจมีที่ใช้ในกรณีอื่นอีกบ้าง แต่แพทย์ไม่ใช้ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดความอ้วน สมุนไพรที่ใช้ชื่อว่า ใบชาลดความอ้วน ทั้งหลาย มักมีสมุนไพรที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะอยู่ด้วย เมื่อแพทย์ไม่ใช้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดความอ้วน ทำไมผู้ที่มิใช้แพทย์จึงใช้สมุนไพรขับปัสสาวะเพื่อลดความอ้วน (ข้อนี้โปรดใช้วิจารณญาณ)
สารเคมี : ในใบพบ 3-(2,3-diacetoxy-2-methyl butyryl) cuauhtemone

กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง กาหลง

กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง
กาหลง
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Bauhinia acuminata  L.
วงศ์ :   Leguminosae - Caesalpinioideae
ชื่ออื่น  กาแจ๊ะกูโด (มลายู-นราธิวาส); กาหลง (ภาคกลาง); โยธิกา (นครศรีธรรมราช); ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง); เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร กิ่งอ่อนมีขนทั่วไป กิ่งแก่ค่อนข้างเกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือเกือบกลม กว้าง 9-13 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายเว้าลงมาสู่เส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ ทำให้ปลายแฉกทั้ง 2 ข้างแหลม โคนรูปหัวใจ ขอบเรียบ เส้นใบออกจากโคนใบ 9-10 เส้น ปลายเส้นกลางใบมีติ่งเล็กแหลม แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนเล็กละเอียด ก้านใบยาว 3-4 ซม. มีขนหูใบเรียวแหลม ยาวประมาณ 1 ซม. ร่วงง่าย มีแท่งรยางค์เล็กๆ อยู่ระหว่างหูใบ ช่อดอกแบบช่อกระจะสั้นๆ ออกตรงข้ามกับใบที่อยู่ตอนปลายกิ่ง มี 3-10 ดอก ก้านดอกยาว 0.5-1.5 ซม. โคนก้านดอกมีใบประดับขนาดเล็ก 2-3 ใบ รูปสามเหลี่ยมเรียวแหลม ดอกตูมรูปกระสวย ยาว 2.5-4 ซม. ดอกบาน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายกาบกว้าง 1-1.8 ซม. ยาว 2.5-4 ซม. ปลายเรียวแหลมและแยกเป็นพู่เส้นสั้นๆ 5 เส้น กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปรีหรือรูปไข่กลับ มักมีขนาดไม่เท่ากัน ปลายมน โคนสอบ กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 4-6 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูแต่ละอันยาวไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ 1.5-2.5 ซม. อับเรณูสีเหลือง รูปขอบขนาน ยาว 3-5 มม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 ซม. รับไข่รูปขอบขนาน ยาว 6-8 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-2 ซม. ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลม ฝักแบน คล้ายรูปขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 9-15 ซม. ปลายและโคนฝักสอบแหลม ปลายฝักมีติ่งแหลม ยาวประมาณ 8 มม. ขอบฝักเป็นสันหนา มี 5-10 เมล็ด เมล็ดเล็ก คล้ายรูปขอบขนาน 
ส่วนที่ใช้ 
 ดอก
สรรพคุณ :
  • ดอก - รับประทาน แก้ปวดศีรษะ
    - ลดความดันของโลหิตที่ขึ้นสูง
    - แก้เลือดออกตามไรฟัน
    - แก้เสมหะพิการ

กลุ่มยากัน หรือ แก้เลือดออกตามไรฟัน มะกอก


 
กลุ่มยากัน หรือ แก้เลือดออกตามไรฟัน
มะกอก
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Spondias cytherea  Sonn.
ชื่อสามัญ :  Jew's plum, Otatheite apple
วงศ์ :  Anacardiaceae
ชื่ออื่น  มะกอกฝรั่ง มะกอกหวาน (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 7-12 เมตร เปลือกลำต้นสีเทาหรือน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ดอก ออกเป็นช่อแบบเพนิเคิล ตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพส ผล รูปไข่หรือรูปกระสวย มียางคล้ายไรไข่ปลา ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกมีสีส้ม เมล็ด กลมรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีขนแข็งที่เปลือกหุ้มเมล็ด 
ส่วนที่ใช้ :  
ผล เปลือก ใบ ยาง เมล็ด
สรรพคุณ :
  • เนื้อผลมะกอก มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ โดยน้ำดีไม่ปกติ และมีประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย
  • น้ำคั้นใบมะกอก ใช้หยอดหู แก้ปวดหูดี
  • ผลมะกอกสุก รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี เช่น ผลมะขามป้อม
  • เปลือก ฝาด เย็นเปรี้ยว ดับพิษกาฬ แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก
  • เมล็ดมะกอก - สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใช้ผสมยามหานิล
  • ใบอ่อน รับประทานเป็นอาหาร
วิธีใช้ ใช้ผลรับประทานเป็นผลไม้ และปรุงอาหาร

กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ กัญชา

กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ
กัญชา
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cannabis sativa  L.
ชื่อสามัญ :   Indian Hemp
วงศ์ :   Canabaceae
ชื่ออื่น  กัญชาจีน (ทั่วไป), คุนเช้า (จีน), ปาง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ยานอ (กะเหรี่ยง -แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูง 0.9-1.5 ซม. ไม่ค่อยแตกสาขา ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ เรียงสลับ ขอบใบเว้าลึกจนถึงจุดโคนใบเป็น 5-7 แฉก โคนและปลายสอบ ขอบจักฟันเลื่อย ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายยอด ช่อดอกและใบของต้นเพศผู้จัดเรียงตัวกันห่างๆ ต่างจากต้นเพศเมียที่เรียงชิดกัน ดอกเล็ก ผลแห้งเมล็ดล่อน เล็ก เรียบ สีน้ำตาล
ส่วนที่ใช้  เมล็ดแห้ง ดอก
สรรพคุณ 
          เป็นยากล่อมประสาท (
Tranquilizer) หมายถึงยาที่ช่วยทำให้จิตใจสบาย ไม่หงุดหงิด ระงับอารมณ์ที่พลุ่งพล่าน เมื่อจิตใจสงบ ทำให้นอนหลับสบาย
วิธีและปริมาณที่ใช้ 
:  
          เอาเมล็ดมาทำให้แห้ง บดให้ละเอียด ชงน้ำรับประทาน ครั้งละ 3 กรัม รับประทานก่อนนอน
          ดอกกัญชาปรุงเป็นยารับประทาน ทำให้อยากอาหาร
** กัญชาเป็นประโยชน์ในสถานะที่เป็นยา แต่ถูกจัดเป็นพืชให้พิษต่อระบบประสาทและทำให้เสพติด ให้ดูพืชพิษเกี่ยวกับกัญชาประกอบด้วย

กลุ่มยาขับน้ำนม กุ๋ยช่าย


 
กลุ่มยาขับน้ำนม
กุ๋ยช่าย
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Allium tuberosum  Rottl. ex Spreng
ชื่อสามัญ :   Chinese Chives, Leek
วงศ์ :   Liliaceae (Alliaceae)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 30-45 ซม. มีเหง้าเล็กและแตกกอ ใบแบน เรียงสลับ รูปขอบขนาน ยาว 30-40 ซม. โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน ช่อดอกแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตัน ยาว 40-45 ซม. โดยปรกติจะยาวกว่าใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกในระดับเดียวกันที่ปลายก้านช่อดอก ก้านดอกยาวเท่ากัน มีใบประดับหุ้มช่อดอก เมื่อดอกเจริญขึ้นจะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ สีขาว ยาวประมาณ 5 มม. โคนติดกัน ปลายแยก กลางกลีบดอกด้านนอกมีสันหรือเส้นสีเขียวอ่อนจากโคนกลีบไปหาปลาย ดอกบานกว้างประมาณ 1 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน อยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลกลม กว้างยาวประมาณ 4 มม. ภายในมี 3 ช่อง มีผนังกั้นตื้นๆ เมื่อแก่แตกตามตะเข็บ มีเมล็ดช่องละ 1-2 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล แบน ขรุขระ
ส่วนที่ใช้ :  
เมล็ด ต้น และใบสด
สรรพคุณ :
  • เมล็ด - เป็นยาฆ่าสัตว์ต่างๆ ให้ตายได้- รับประทานขับพยาธิเส้นด้ายหรือแซ่ม้า
    - รับประทานกับสุราเป็นยาขับโลหิตประจำเดือนที่เป็นลิ่มเป็นก้อนได้ดี
      
  • ต้นและใบสด
    - เป็นยาเพิ่ม และขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด
    - ใช้รับปะทานเป็นอาหาร
    -
     ใช้ฆ่าเชื้อ (Antiseptic)แก้โรคนิ่ว และหนองในได้ดี
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • เมล็ด
    - เผาไฟเอาควันรมเข้าในรูหู เป็นยาฆ่าสัตว์ต่างๆ ให้ตายได้
    - บางจังหวัดใช้เมล็ดคั่วให้เกรียม บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันยางชุบสำลีอุดฟันที่เป็นรูทิ้งไว้ 1-2 วัน เป็นยาฆ่าแมลงที่กินอยู่ในรูฟันให้ตายได้
  • ต้นและใบสด- ใช้จำนวนไม่จำกัดแกงเลียงรับประทานบ่อย ขับน้ำนมหลังคลอด
    - ใช้ต้นและใบสด ตำให้ละเอียดผสมกับสุราใส่สารส้มเล็กน้อย กรองเอาน้ำรับประทาน 1 ถ้วยขา แก้โรคนิ่ว และหนองใน

กลุ่มยาแก้อาเจียน กะเพรา

กลุ่มยาแก้อาเจียน
กะเพรา
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ocimum sanctum  L.
ชื่อพ้อง : Ocimum tenuiflorum  L.
ชื่อสามัญ :  Holy basil,  Sacred Basil
วงศ์ :   Lamiaceae (Labiatae)
ชื่ออื่น  กะเพราขน กะเพราขาว กะเพรา (ภาคกลาง) กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) อีตู่ไทย (ภาคอีสาน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 30-60 ซม. โคนต้นค่อนข้างแข็ง กะเพราแดงลำต้นสีแดงอมเขียว ส่วนกะเพราขาวลำต้นสีเขียวอมขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบนมี 4 แฉก ปากล่างมี 1 แฉก ปากล่างยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล เป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ด สีดำ รูปไข่
ส่วนที่ใช้ : 
ใบ และยอดกะเพราแดง ทั้งสดและแห้ง ทั้งต้น
สรรพคุณ :
  1. แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ)
  2. ใช้แก้อาการท้องอืดเฟ้อ แน่จุกเสียดและปวดท้อง
  3. แก้ไอและขับเหงื่อ
  4. ขับพยาธิ
  5. ขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด
  6. ลดไข้
  7. เป็นยาอายุวัฒนะ
  8. เป็นยารักษาหูด กลากเกลื้อน ต้านเชื้อรา
  9. เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่ หรือฆ่ายุง
  10. เป็นสมุนไพร ไล่แมลงวันทอง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • แก้คลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ)
    อาการท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง
    ใช้กะเพราทั้ง 5 ทั้งสด หรือ แห้ง ชงน้ำดื่ม รับประทาน
    เด็กอ่อน ใช้ใบสด 3-4 ใบ
    ผู้ใหญ่ ใบแห้ง 1 กำมือ, 4 กรัม ผงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 2 ช้อนแกง ใบสด 25 กรัม
    ภายนอก เด็กอ่อน ใบสด 10 ใบ
วิธีใช้ :
          ยาภายใน  
          เด็กอ่อน - ใช้ใบสด ใส่เกลือเล็กน้อย บดให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอด 2-3 หยด เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยขับลม และถ่ายขี้เทา
          ผู้ใหญ่ - ใช้ใบกะเพราแห้ง ชงกับน้ำดื่ม เป็นยาขับลม ถ้าป่นเป็นผง ให้ชงกับน้ำรับประ
          คนโบราณใช้ใบกะเพราสดแกงเลียงให้สตรีหลังคลอดรับประทาน ช่วยขับลม บำรุงธาตุ
          ยายภายนอก
          ใช้ใบสดทาบริเวณท้องเด็กอ่อน จะลดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อได้
          กะเพรามี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว และ กะเพราแดง  กะเพราแดงมีฤทธิ์แรงกว่ากะเพราขาว ในทางยานิยมใช้กะเพราแดง แต่ถ้าประกอบอาหารมักใช้กะเพราขาว
  • ยาเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด
    ใช้ใบกะเพราสด 1 กำมือ แกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ
  • เป็นยารักษากลากเกลื้อน
    ใช้ใบสด 15-20 ใบ ตำหรือขยี้ให้น้ำออกมา ใช้ทาถูตรงบริเวณที่เป็นกลาก ทาวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
  • เป็นยารักษาหูด
    ใช้ใบกะเพราแดงสด ขยี้ทาตรงหัวหูด เข้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุด
ข้อควรระวัง :
          น้ำยางที่ใช้สำหรับกัดหูดนี้เป็นพิษมาก ดังนั้นควรใช้ด้วยความระวัง
          - อย่าให้เข้าตา
          - ให้กัดเฉพาะตรงที่เป็นหูด อย่าให้ยางถูกเนื้อดี ถ้าถูกเนื้อดี เนื้อดีจะเน่าเปื่อย ซึ่งรักษาให้หายได้ยาก
  • เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่หรือฆ่ายุง
    ใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด 1 กิ่งใหญ่ ๆ เอาใบมารขยี้ แล้ววางไว้ใกล้ๆ ตัว จะช่วยไล่ยุงได้ และยังสามารถไล่แมลงได้ด้วย น้ำมันกะเพรา เอาใบสดมากลั่น จะได้น้ำมันกะเพรา ซึ่งมีคุณสมบัติไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสดๆ
  • เป็นสมุนไพรไล่แมลงวันทอง
    ใช้น้ำมันที่กลั่นจากใบสด ตามความเหมาะสม น้ำมันหอมระเหยนี้ไปล่อแมลง จะทำให้แมลงวันทองบินมาตอมน้ำมันนี้
สารเคมี :
          ในใบพบ Apigenin, Ocimol, Linalool , Essential Oil, Chavibetal

กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ กฤษณา

กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
กฤษณา
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Aquilaria crassna  Pierre ex Lecomte
ชื่อสามัญ :   Eagle wood
วงศ์ :   Thymelaeaceae
ชื่ออื่น  ไม้หอม (ภาคตะวันออก)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 18-30 เมตร เปลือกสีเทา แตกเป็นร่องยาวตื้นๆ ตามกิ่งอ่อนมีขนสีขาวปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-11 ซม. โคนใบมน ปลายใบเป็นติ่งแหลม แผ่นใบค่อนข้างหนา เรียบเกลี้ยง สีเขียว มีขนประปรายตามเส้นใบด้านล่าง ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 0.2-0.7 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก ติดทน กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 10 อัน ผล รูปกลมรี มีเส้นแคบตามยาวของผล ผิวขรุขระเป็นลายสีเขียว มีขนละเอียดสั้นคล้ายกำมะหยี่ พอแก่แตกอ้าออก เมล็ดกลมรี สีน้ำตาลเข้ม มี 1-2 เมล็ด  
ส่วนที่ใช้ :  
เนื้อไม้  แก่น  และชัน
สรรพคุณ :
  • นื้อไม้  
    - รสขม หอม เป็นยาบำรุงหัวใจ (คือมีอาการหน้าเขียวตาเขียว)
    - ช่วยตับ ปอด ให้เป็นปกติ แพทย์ตามชนบทใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้ลมหน้ามืดวิงเวียน ผสมเครื่องหอมทุกชนิด ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม เช่น ธูปหอม น้ำอบไทย
    - สุมศีรษะ แก้ลมทรางสำหรับเด็ก รับประทานให้ชุ่มชื่นหัวใจ กฤษณาชนิด 
    Aquilaria agallocha ใช้เนื้อไม้เป็นยารักษาโรคปวดข้อ
  • น้ำมันจากเมล็ด - รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังได้
วิธีใช้ :
          เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ รวมกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น เกษรทั้ง 5 และอื่นๆ
  

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน แคดอกขาว แคดอกแดง

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน
แคดอกขาว แคดอกแดง
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Sesbania grandiflora  (L.) Desv.
ชื่อสามัญ :   Agasta, Sesban, Vegetable humming bird
วงศ์ :   Leguminosae - Papilionoideae
ชื่ออื่น  แค แคบ้านดอกแดง แคขาว (ภาคกลาง) แคแดง (เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม.  ยาว 3-4 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ  สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ 2-4 ดอก ดอกสีขาวหรือแดง มีกลิ่นหอม ก้านเกสรเพศผู้สีขาว 60 อัน ผล เป็นฝัก ยาว 8-15 ซม. ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : 
เปลือกต้น  ดอก  ใบสด  ยอดอ่อน
สรรพคุณ :
  • เปลือก  - ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว
    - แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
    - ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล
  • ดอก,ใบ - รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม) 
    ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้
  • ใบสด 
    - รับประทานใบแคทำให้ระบาย
    - ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
    ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง
  • แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)
    - ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
    - ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล

กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ จิก

กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ
จิก
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Barringtonia acutangula (L.) Garetn.
ชื่อสามัญ :   Indian oak
วงศ์ :   Barringtoniaceae
ชื่ออื่น  กระโดนทุ่ง กระโดนน้ำ(หนองคาย), จิกนา(ภาคใต้), ตอง(ภาคเหนือ), มุ่ยลาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้น เป็นปุ่มปมและเป็นพู ผลัดใบ ชอบขึ้นริมน้ำ ใบ เดี่ยว ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ผิวใบมัน ใบออกสลับถี่ตามปลายยอด รูปใบยาวเหมือนรูปใบหอก หรือรูปไข่กลับ ใบยาว 30 เซนติเมตร ขอบใบจักถี่ ก้นใบสีแดง สั้นมาก ดอก ช่อ สีแดงห้อยลง บานจากโคนลงไปทางปลาย ช่อดอกยาว 30-40 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ และจะคงติดอยู่จนเป็นผล เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก มีสีชมพูถึงสีแดง ผล ยาวรีเป็นเหลี่ยม มีสันตามยาวของผล 4 สัน ผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่
ส่วนที่ใช้ :  
ราก น้ำจากใบ เปลือก ผล
สรรพคุณ :
  • ราก - ยาระบายอ่อน ๆ และใช้แทนควินินได้
  • น้ำจากใบ  - แก้ท้องเสีย
  • เปลือก  - ทาแก้แมลงกัดต่อย พอกแผล
  • ผล  - แก้ไอ ขับเสมหะ       - แก้หวัด หืด

กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ กระทือ

กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ
กระทือ
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Zingiber zerumbet  (L.) Smith.
วงศ์ :   Zingiberaceae
ชื่ออื่น  กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ล้มลุก ลำต้นเหนือดินกลม สูง 0.9-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ต้นโทรมในหน้าแล้งแล้วงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรูยาว กว้าง 5-7.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าขึ้นมา ช่อดอกรูปทรงกระบอก มีใบประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกบานไม่พร้อมกัน ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม สีแดง เมล็ดสีดำ
ส่วนที่ใช้ ราก เหง้า ต้น ใบ ดอก หัว หรือ เหง้าแก่สด  เก็บใบช่วงฤดูแล้ง
สรรพคุณ :
  • ราก  - แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ต่างๆ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เคล็ดขัดยอก
  • เหง้า
    - บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด บิดป่วงเบ่ง
    - แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ขับผายลม ขับปัสสาวะ
    - แก้จุกเสียด แก้เสมหะเป็นพิษ
    - ขับน้ำย่อย เจริญอาหาร
    - เป็นยาบำรุงกำลัง
    - แก้ฝี
  • ต้น
    - แก้เบื่ออาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารมีรส
    - แก้ไข้
  • ใบ
    - ขับเลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ
    - แก้เบาเป็นโลหิต
  • ดอก
    - แก้ไข้เรื้อรัง
    - ผอมแห้ง ผอมเหลือง
    - บำรุงธาตุ แก้ลม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง บิดโดยใช้หัวหรือเหง้ากระทือสด ขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ
    บางท้องถิ่นใช้หัวกระทือประกอบอาหาร เนื้อในมีรสขมและขื่นเล็กน้อย ต้องหั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือนานๆ
    กระทือเป็นพืชที่มีสารอาหารน้อย
สารเคมี 
          Afzelin, Camphene, Caryophyllene
          น้ำมันหอมระเหยมี Zerumbone, Zerumbone Oxide

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ กานพลู

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ
กานพลู
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Syzygium aromaticum (L.) Merr.& L.M.Perry
ชื่อพ้อง :  Caryophyllus aromatica  L. ; Eugenia aromatica  (L.) Baill; E.Caryophylla(Spreng.) Bullock et Harrison;  E.caryophyllata Thunb.
ชื่อสามัญ :   Clove Tree
วงศ์ :   Myrtaceae
ชื่ออื่น  -
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ 5 ซม. ก้านช่อดอกสั้นมาก แต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม. เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือกลม ยาว 7-8 มม. มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม. ผล รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี 1 เมล็ด
          กานพลูเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ น้ำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900 เมตร

ส่วนที่ใช้ :  เปลือกต้น ใบ ดอกตูม ผล น้ำมันหอมระเหยกานพลุ
สรรพคุณ :
  • เปลือกต้น  -  แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ 
  • ใบ -  แก้ปวดมวน
  • ดอกตูม - รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่น
    ดอกกานพลูแห้ง ที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการ แก้โรคเหน็บชา แก้หืด แก้ไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา แก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียว ขับผายลม ขับลมในลำไส้ แก้ท้องเสียในเด็ก แก้ปากเหม็น แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาด กับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน
  • ผล -  ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม
  • น้ำมันหอมระเหยกานพลู - ใช้เป็นยาชาเฉพาะแห่ง แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรม เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม และปวดท้อง
    ใช้ดอกกานพลูโตเต็มที่ ที่ยังตูมอยู่ 4-6 ดอก หรือ 0.25 กรัม
    ในผู้ใหญ่  - ใช้ทุบให้ช้ำ ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว
    ในเด็ก -  ใช้ 1 ดอก ทุบแล้วใส่ลงในขวดนม
    เด็กอ่อน - ใช้ 1 ดอก ทุบใส่ในกระติกน้ำที่ไว้ชงนม ช่วยไม่ให้เด็กท้องขึ้นท้องเฟ้อได้
  • ยาแก้ปวดฟัน
    ใช้นำมันจากการกลั่นดอกตูมของดอกกานพลู 4-5 หยด ใช้สำลีพันปลายไม้ จุ่มน้ำมันจิ้มในรูฟันที่ปวด จะทำให้อาการปวดทุเลา และใช้แก้โรครำมะนาดก็ได้
    หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยว แล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟันเพื่อระงับอาการปวด หรือใช้ ดอกกานพลูตำพอแหลกผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะใช้จิ้มหรืออุดฟันที่ปวด
  • ระงับกลิ่นปาก
    ใช้ดอกตูม 2-3 ดอก อมไว้ในปาก จะช่วยทำให้ระงับกลิ่นปากลงได้บ้าง
สารเคมี : Eugenol, Cinnamic aldehyde Vanillin น้ำมันหอมระเหย Caryophylla - 3(12)-6-dien-4-ol

กลุ่มยาถ่าย กาฬพฤกษ์

กลุ่มยาถ่าย
กาฬพฤกษ์
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cassia grandis  L.f.
ชื่อสามัญ :    Pink Shower , Horse cassia
วงศ์ :   LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้น ผลัดใบ สูงถึง 20 เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำ แตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนสีน้ำตาล ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมี 10-20 คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีขน ดอก เริ่มบานสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูตามลำดับ ระยะออกดอกเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม ผล เป็นฝัก ฝักแก่แห้งไม่แตก ค่อนข้างกลม รูปทรงกระบอก โคนและปลายสอบ เปลือกหนาแข็ง ขรุขระ ที่ขอบฝักเป็นสันตามแนวยาวทั้ง 2 ข้าง ขนาดกว้าง 0.8-1.2 ซม. ยาว 1.3-1.8 ซม. เมล็ดอ่อนสีครีม เมล็ดแก่สีน้ำตาล มีจำนวน 20-40 เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เนื้อในฝัก  เปลือก เมล็ด
สรรพคุณ :
  • เนื้อในฝัก  -  ปรุงรับประทานเป็นยาระบายอ่อนๆ
    ขนาดรับประทาน - รับประทานได้ถึงครั้งละ 8 กรัม ไม่ปวดมวนและไม่ไซ้ท้องเลย แต่ความแรงสู้คูนไม่ได้  
  • เปลือก และ เมล็ด  - รับประทานทำให้อาเจียน เป็นยาถ่ายพิษไข้ได้ดี

กลุ่มยาถ่ายพยาธิ แก้ว

กลุ่มยาถ่ายพยาธิ
แก้ว
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Murraya paniculata  (L.) Jack.
ชื่อสามัญ :   Andaman satin wood, Chinese box tree, Orange jasmine
วงศ์ :    RUTACEAE
ชื่ออื่น  กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี) แก้วขาว (ภาคกลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบประกอบ ผิวใบมันเข้ม และเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุก สีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอมมาก ผล สดกลมรี หรือรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ที่เปลือกมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด กว้าง 5-8 มม. ยาว 0.8-1 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มแดง เมล็ดรูปไข่ปลายสอบ มีขนสั้นๆ อยู่รอบเมล็ด กว้าง 4-6 มม. ยาว 6-9 มม. สีขาวขุ่น มีจำนวน 1-2 เมล็ดต่อผ
ส่วนที่ใช้ 
 
  • ก้านและใบ - เก็บได้ตลอดปี ใช้สดหรือตากแห้งเก็บไว้ใช้
  • ราก - เก็บในฤดูหนาว เอาดินออกล้างให้สะอาด หั่นเป็นแผ่น ตากแห้งเก็บไว้ใช้
  • ใบ ดอก และผลสุก
สรรพคุณ :
  • ก้านและ  - รสเผ็ด สุขุม ขม ใช้เป็นยาชาระงับปวด แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้น แก้แผลเจ็บปวดเกิดจากการกระทบกระแทก ต้มอมบ้วนปาก แก้ปวดฟัน  
  • ราก -  รสเผ็ด ขม สุขุม ใช้แก้ปวดเอว แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้น และที่เกิดจากแมลงกัดต่อย
  • ใบ -  ขับพยาธิตัวตืด แก้บิด แก้ท้องเสีย 
  • ราก, ใบ - เป็นยาขับประจำเดือน 
  • ดอก, ใบ -  ช่วยย่อย แก้ไขข้ออักเสบ แก้ไอ เวียนศีรษะ
  • ผลสุก -  รับประทานเป็นอาหารได้
วิธีใช้และปริมาณที่ใช้
  1. ใช้ภายใน รับประทานขับพยาธิตัวตืด แก้บิด แก้ท้องเสีย- ใช้ก้านและใบสด 10-15 กรัม ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เย็น
    -  หรือใช้ดองเหล้า ดื่มแต่เหล้า ครั้งละ 1 ถ้วยตะไล ใช้เป็นยาขับประจำเดือน
    -  ใช้รากแห้ง 10-15 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เย็น
  2. ใช้ภายนอก
    -  ใช้ก้านและใบสด ตำพอก หรือคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น
    -  ใช้ใบแห้งบดเป็นผงใส่บาดแผล
    -  รากแห้งหรือสด ตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น
    -  ใบและก้านสด สกัดด้วยแอลกอฮอล์ 50 
    ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่
สารเคมี
          ใบ  เมื่อกลั่นด้วยไอน้ำให้น้ำมันหอมระเหยสีเข้ม 0.01
 กลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากใบประกอบด้วย :
          1 Cadinene (sesquiterpene) 32.5%   bisaboline 18%  betacaryophyllene 14%  carene 3.5%
          5 - quaiazulene 1.2%  methyl anthrailate 1.5%  euhenol 5%  citronellol 4.5%  geranoil 9.1%   methylsalicylate 3.5%

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ กระดังงาไทย

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ
กระดังงาไทย
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cananga odorata  Hook.f. & Thomson var. odorata
ชื่อสามัญ :   Ylang-ylang Tree
วงศ์ :   ANNONACEAE
ชื่ออื่น  กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่ , กระดังงาใหญ่, สะบันงา, สะบันงาต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-20 ม. มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ ช่อดอกสั้น ออกห้อยรวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6 ดอก ดอกใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบขนานปลายแหลม มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่าชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล แต่ละผลรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน
สรรพคุณ :
  • ดอกแก่จัด  -  ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลังทำให้ชุ่มชื่น ให้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำอบ ทำน้ำหอม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ
  • ใบ, เนื้อไม้  -  ต้มรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะพิการ
วิธีใช้ :
  1. ใช้ดอกกลั่น  ได้น้ำมันหอมระเหย
  2. การแต่งกลิ่นอาหาร  ทำได้โดยนำดอกที่แก่จัด ลมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมา แล้วนำไปเสียบไม้ ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกทิ้งตอนเช้า นำน้ำไปคั้นกะทิ หรือปรุงอาหารอื่นๆ
สารเคมี ใน ylang -ylang oil มีสารสำคัญคือ linalool , benzyl  benzoate p-totyl  methylether, methylether, benzyl acetate

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน กุ่มบก

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน
กุ่มบก
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Crateva adansonii  DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs
ชื่อสามัญ :  Sacred Barnar, Caper Tree
วงศ์ :  Capparaceae
ชื่ออื่น ผักกุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 7-9 ซม. ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7.5-11 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนแหลมหรือสอบแคบ ขอบเรียบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 4-5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามง่ามใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรี กว้าง 2-3 มม. ยาว 4-5 มม. เมื่อแห้งมักเป็นสีส้ม กลีบดอกสีขาวอมเขียวแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือชมพูอ่อน รูปรี กว้าง 0.8-1.5 ซม. ยาว 1.2-1.8 ซม. โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาว 3-7 มม. เกสรเพศผู้สีม่วง มี 15-22 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 ซม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 ซม. รังไข่ค่อนข้างกลมหรือรี มี 1 ช่อง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3.5 ซม. เปลือกมีจุดแต้มสีน้ำตาลอมแดง เมื่อแก่เปลือกเรียบ ก้านผลกว้าง 2-4 มม. ยาว 5-13 ซม. เมล็ดรูปคล้ายเกือกม้าหรือรูปไต กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 6 มม. ผิวเรียบ
สรรพคุณ :
  • บ  -  ขับลม ฆ่าแม่พยาธิ เช่น พวกตะมอย และทาแก้เกลื้อนกลาก
  • เปลือก  - ร้อน ขับลม แก้นิ่ง แก้ปวดท้อง ลงท้อง คุมธาตุ
  • กระพี้ - ทำให้ขี้หูแห้งออกมา
  • แก่น - แก้ริดสีดวง ผอม เหลือง
  • ราก - แก้มานกษัย อันเกิดแต่กองลม
  • เปลือก - ใช้ทาภายนอก แก้โรคผิวหนัง

กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด กระเจี๊ยบแดง

กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด
กระเจี๊ยบแดง
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Hibiscus sabdariffa  L.
ชื่อสามัญ Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ :  Malvaceae
ชื่ออื่น กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ย  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
สรรพคุณ :
  • กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
  1. เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
  2. ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
  3. น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
  4. ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี
  5. น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
  6. ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
  7. เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
  8. เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย
  • ใบ  แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
  • ดอก  แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
  • ผล  ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
  • เมล็ด  บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
          นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
          นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          
โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา  (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี
          ดอก  
พบ 
Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
คุณค่าด้านอาหาร
          น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
          น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร 
Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ

บทนำ



 
        พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ  และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด
          ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด
         ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า  " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"
          บทความข้าต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข  หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ
          จึงหวังว่าผู้ที่เข้ามาหาข้อมูลและได้อ่านเรื่องต่างๆ ในเวบไซต์นี้คงได้รับความรู้และอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองหรือบุคคลรอบข้างได้ไม่มากก็น้อย..

แนะนำตัว


เด็กหญิงสุภาพร  สีดาสน์ 
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 เลขที่ 40
โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม